กองทัพบก ARMYLAND

ARMYLAND กองทัพบก

จังหวัดปัตตานี การเดินทางมาเมืองปัตตานี ในครั้งนี้ เป็นการเดินทางเชื่อมโยงมาจาก จังหวัดนราธิวาส เข้าถึง ปัตตานี ใช้เวลาเดินทาง โดยประมาณ 2 ชั่วโมง

เมืองปัตตานี มีหลายสถานที่ ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ซึ่งตัวเมือง แหล่งท่องเที่ยวหลัก จะอยู่บนเส้นทางหลักทางหลวงหมายเลข 410 เรียกว่ามีแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถาน หลายแห่ง ใกล้เส้นทางถนน

จึงมีหน่วยงานทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ ผลักดัน ให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว สร้างเส้นทางเชื่อมโยงเศรษฐกิจ นำรายได้หมุนเวียนสู้ภาคประชาชน ซึ่งเมื่อเดินทาง จากจังหวัดนราธิวาส คณะเดินทางเรา จึงแวะมาตลอดเส้นทาง บนเส้นทางเชื่อมโยงเข้าจังหวัดปัตตานี โบราณสถานแรกที่เข้าไปเยี่ยมชม โปรดทำตัวสำรวมเคารพสถานที่

มัสยิดกรือเซะ ขอสันติสุขจงมีแก่ท่าน ขอสันติสุขนั้นแก่ท่านเช่นกัน เดินทางมาถึงมัสยิดกรือเซะ หรือ มัสยิดปินตูกรือบัง ในช่วงบ่ายแก่ ๆ บนพื้นที่สำคัญทางศาสนา

มัสยิดกรือเซะ ตั้งอยู่ บ้านกรือเซะ ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ถูกขึ้นทะเบียนโบราณสถานเหมือนสถานโบราณทั่ว ๆ ไปในประเทศไทย โดยกรมศิลป กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ทำการบูรณะ เมื่อปี พ.ศ.2478 และได้ทำการบูรณะอีกครั้ง ในปี พ.ศ.2500 และในปี พ.ศ.2525 ได้ทำการบูรณะอีกครั้งเนื่องในโอกาสสมโภชน์ กรุงรัตนโกสิน เป็นมัสยิดเก่าแก่อายุโดยประมาณ 200 ปี

สันนิษฐาน สังเกตุจากศิลปะ การออกแบบการสร้าง มัสยิดกรือเซะ เป็นศิลปะแบบเปอร์เซีย ไม่ว่าจะเป็นซุ้มโค้งประตู หรือเมี๊ยะโดยรอบ ล้วนแล้วแต่เป็นทรงศิลปะแบบเปอร์เซียทั้งสิ้น…ฯลฯ

ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จ.ปัตตานี บริเวณศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว มีทั้งศาลเจ้า พิพิธภัณฑ์ เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จังหวัดปัตตานี เป็นเรื่องราวของสตรีชาวจีนสมัยราชวงศ์เหม็ง ซึ่งเดินทางติดตามพี่ชายจากเมืองจีนมาถึงเมืองปัตตานี

ตำนานกล่าวว่า ตรงกับช่วงประมาณสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครองกรุงศรีอยุธยา หรือในช่วง รายอฮีเยาครองปัตตานี ด้วยความเป็นสตรีกล้าหาญ ใจเด็ด วาจาสิทธิ์ ยอมพลีชีพตามคำมั่นสัญญา เมื่อทำหน้าที่ไม่สำเร็จ ด้วยเหตุนี้ชาวไทยเชื้อสายจีน พากันยกย่อง ศรัทธา นับถือเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ว่าศักดิ์สิทธิ์…ฯลฯ

ตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เป็นเรื่องเล่าประเภทมุขปาฐะ ปัจจุบันชาวปัตตานีจัดงานสมโภชทุกปีในวันเพ็ญเดือนสาม

เพื่อระลึกถึงเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ที่ขาดเสียมิได้คือขบวนแห่รูปสลักเจ้าแม่ ตามด้วยขบวนต่างๆ เช่น ขบวนแห่ธง แห่ป้าย แห่กระเช้าดอกไม้ และเชิดสิงโต ประโคมด้วยกลอง และม้าล่อ กลางคืนมีมหรสพต่างๆ เช่น งิ้ว มโนรา ชาวบ้านบอกว่าเจ้าแม่โปรดการแสดงทั้งสองนี้

มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ขอสันติสุขจงมีแก่ท่าน ขอสันติสุขนั้นแก่ท่านเช่นกัน มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่ที่ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมที่สวยงามมีความโดดเด่น และยังเป็นศาสนสถานศูนย์รวมจิตใจของผู้นับถือศาสนาอิสลามในภาคใต้ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่ง

ปีพุทธศักราช 2497 รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของศาสนาอิสลามว่าเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวปัตตานีส่วนใหญ่นับถืออย่างเคร่งครัดอันจะนำมาซึ่งสันติสุข ประกอบกับในพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีประชากรนับถือศาสนาอิสลาม (มุสลิม) เป็นจำนวนมาก

สมควรสร้างมัสยิดกลางที่มีขนาดใหญ่ และสวยงามขึ้นเพื่อเป็นศรีสง่าแก่ชาวไทยผู้นับถือศาสนาอิสลามทั่วประเทศตลอดจนเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ ของชาวไทยมุสลิม จึงได้พิจารณาพื้นที่บริเวณริมถนนหลวงสายปัตตานี-ยะลา ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ 55 ตารางวา

คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติงบประมาณสำหรับการก่อสร้างมัสยิดกลางปัตตานีขึ้น โดย ฯพณฯ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้นได้เดินทางมาวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2500 เวลา 10.00 น. มัสยิดกลางแห่งนี้ใช้เวลาในการก่อสร้างและตกแต่งอย่างวิจิตรพิสดารเป็นเวลา 9 ปีกว่าจะแล้วเสร็จ ต่อมาเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2506 ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้เดินทางมาประกอบพิธีเปิดอย่างเป็นทางการและมอบมัสยิดแห่งนี้ให้แก่ชาวไทยมุสลิมจังหวัดปัตตานี โดยให้ตั้งชื่อว่า “มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี”

สกายวอล์คปัตตานี ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี แลนด์มาร์คสุดเจ๋ง ชมวิวทะเล ป่าชายเลน ภายในพื้นที่ของสวนสมเด็จสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายของชาวปัตตานี

โดยบริเวณทางเข้าสวน ได้จัดทำเป็นเส้นทางเดินลอยฟ้าเหนือป่าชายเลนที่มีความสูง 12 เมตร ประมาณตึก 5 ชั้น สกายวอล์ค แห่งนี้สามารถชมวิวทิวทัศน์แบบพาโนรามา ชมเมืองปัตตานี วิถีชีวิตชาวประมง รวมถึงชมความงดงามของพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกอีกด้วย

สำหรับการเดินทางในช่วงที่ผ่านมา เป็น โครงการ สื่อมวลชนสัญจรท่องเที่ยวแดนใต้ เส้นทางดอนเมือง นราธิวาส ปัตตานี สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช สุราษธานี จัดโดย สำนักงานส่งเสริมท่องเที่ยวกองทัพบก (สง.ทท.ทบ.)

พลตรีธนณัฐ ยังเฟื่องมนต์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวกองทัพบก(ผอ.สง.ทท.ทบ.) กล่าวให้ฟัง ในหลายวาระ และระหว่างนำพาชมพื้นที่ เน้นย้ำให้ฟัง ทหารไม่ได้ทำท่องเที่ยว ทหารและกองทัพไม่ได้เข้ามาทำธุรกิจ แต่เป็นการสร้างงานสร้างกิจกรรมร่วมส่งเสริม

กองทัพบก ARMYLAND ดินแดนท่องเที่ยวในเขตทหาร ตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตทหาร ภายใต้ โครงการ “ARMYLAND” ดินแดนท่องเที่ยวในเขตทหาร โดยมีแนวความคิดในการพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตทหาร ซึ่งประกอบด้วย การท่องเที่ยวเพื่อ การนันนาการและผจญภัย , การท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ , การท่องเที่ยวเพื่อฝึกอบรม , การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพและการกีฬา , การเที่ยวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและธรรมชาติ , การท่องเที่ยวเพื่อการประชุมและนิทรรศการ

และ การท่องเที่ยวเพื่อความรับผิดชอบและการตอบแทนทางสังคม บนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการทำเพื่อประโยชน์ส่วนร่วม ในภาคประชาชน และแชร์ริง องค์ความรู้ ทำงานร่วมกัน ดังจะเห็นได้จากการเยี่ยมชมค่ายอิงคยุทธบริหาร

ค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เมื่อเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยว ค่ายอิงคยุทธบริหาร บนยอดเขาบ่อทอง ซึ่งมีมุมมอง 360 องศา ที่สำคัญ บนยอดเขา ได้กราบพระพุทธ เจดีย์ หลวงปู่ทวด รวมถึงได้กราบพระอาจารย์แดง วัดไร่ ซึ่งท่านมาให้กำลังใจและมอบเหรียญหลวงปู่ทวด และลงจากยอดเขา มาทำ CSR จะเห็นว่า เรามาเพื่อมอบทุนการศึกษา อาหารคาวหวาน เป็นต้น

เดินทางมาทั้งวัน แสงสุดท้ายมาเยือนผ่านไปแล้ว วันหน้ากลับมาพบกันใหม่ ซึ่งยังคงอยู่ที่ปัตตานี โดยผู้เขียนเองนั้น เกิดไม่ทันยุคสมัยอดีต เขียนเล่าบทความ ไปตามตำนาน ที่เล่าปากต่อปาก ไม่มีหลักศิลาจารึกบันทึกไว้

ดังนั้นจึงอย่าใช้บทความของผู้เขียน เป็นข้อยุติ หรือสรุปในปัจจุบัน เพราะบทความนี้ เป็นบทความ สารคดีเชิงท่องเที่ยว ส่งเสริมเชื่มโยงการท่องเที่ยวในสามจังหวัดภาคใต้ ที่บ่งบอกปัจจุบันว่าจังหวัดปัตตานี เมืองสามวัฒนธรรม ตำนาน เรื่องเล่าเมืองปัตตานี มีผู้ให้คำจำกัดความในการท่องเที่ยวกล่าวว่า เป็นเมือง แห่ง 3 วัฒนธรรม โดยมีความเชื่อ ความศรัทธา ผูกโยงเรื่องราว ระหว่าง วัฒนธรรม ไทย จีน มลายู

โลกเวลา วันเวลาหมุนเวียนเปลี่ยนไป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เจริญ เสื่อม สิ้นสูญเกิดใหม่ มนุษย์ตัวน้อย ๆ ไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ในบางเรื่องประสงค์ของพระเจ้าในธรรมชาติ ดังนั้น ก็คงต้องปล่อยให้เป็นไปตาม พระ ประสงค์ ของพระเจ้าในธรรมชาติ ในเงื้อไขของบางเรื่องราว ในเรื่องเล่าตำนานที่ผ่านมา จงยึดปัจจุบัน ทำปัจจุบันให้ดี อนาคตก็จะดีแน่นอน

สามจังหวัดภาคใต้ มีสถานที่ท่องเที่ยว ทางธรรมชาติที่สวยงาม มีโบราณสถานให้ศึกษา มีขนมธรรมประเพณี และวัฒนธรรมที่ดีงาม ไม่แพ้ที่ใดในประเทศไทย หากสามารถนำพาสามจังหวัด มาพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ทางโบราณสถาน ทางธรรมชาติ

เชื่อว่าทรัพยากรทางอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่มีอยู่ สามารถสร้างให้เกิดประโยชน์กับคนท้องถิ่น ประชาชนในชาติ ตลอดจนก่อให้เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่ ก็สามารถผลักดันเศรษฐกิจชุมชน สู่มวลรวมใหญ่ ไปสู่เศรษฐกิจประเทศไทย ได้ดีแน่นอน สำหรับวันนี้ขอจบบทความตรงนี้ ไว้

ขอบคุณ สำนักงานส่งเสริมท่องเที่ยวกองทัพบก (สง.ทท.ทบ.) สิงห์ราหู เรียบเรียงข่าว-ภาพ เมืองปัตตานี

#สำนักงานส่งเสริมท่องเที่ยวกองทัพบก(สง.ทท.ทบ.) #ค่ายอิงคยุทธบริหาร #อำเภอหนองจิก #จังหวัดปัตตานี #สื่อสังคมข่าว #มัสยิดกรือเซะ #มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี #เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว #สกายวอล์คปัตตานี #กองทัพบกARMYLAND #ARMYLAND
More from my site

อาชีพรับจ้าง , ช่างภาพ , นักข่าว , รับบันทึกภาพถ่ายภาพงานทั่วไป , แถลงข่าว , สารคดี , เป็นช่างภาพนักเขียนอิสระให้กับ นิตยสารหลายฉบับ , เว็บต่าง ๆ และหนังสือพิมพ์
Pingback: y2mate