อัฏฐมีบูชา

อัฏฐมีบูชา

วันอัฏฐมีบูชา

วันอัฏฐมีบูชา
วันอัฏฐมีบูชา

วันอัฏฐมีบูชา หรือวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ  ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำแห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) เนื่องด้วยอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อถึงวันนี้แล้ว พุทธศาสนิกชนบางส่วน ผู้มีความเคารพในพระพุทธองค์ มักนิยมประกอบพิธีบูชา ณ ปูชนียสถานนั้น ๆ วันนี้จึงเรียกว่า “วันอัฏฐมีบูชา”

มกุฏพันธนเจดีย์ กรุงกุสินารา
มกุฏพันธนเจดีย์ กรุงกุสินารา

วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระตถาคต  อานนท์…ดูก่อน พวกเธอจงอย่าขวนขวาย เพื่อบูชาสรีระตถาคตเลย จงสืบต่อพยายามในประโยชน์แห่งตน มีความเพียรอันมีประโยชน์ตนส่งไปแล้วนั้นเถิด กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิต พราหม์ คหบดี ผู้เลื่อมใสในตถาคต เขาทั้งหลายจะกระทำการบูชาสรีระตถาคต

มกุฏพันธนเจดีย์ กรุงกุสินารา
มกุฏพันธนเจดีย์ กรุงกุสินารา

วันอัฏฐมีบูชา ประวัติความเป็นมา  เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ๘ วัน มัลลกษัตริย์แห่งนครกุสินารา พร้อมด้วยประชาชน พระสงฆ์ อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีย์ แห่งกรุงกุสินารา

มกุฏพันธนเจดีย์ กุสินารา สถานที่ถวายพระเพลิงพุทธเจ้า
มกุฏพันธนเจดีย์ กุสินารา
สถานที่ถวายพระเพลิงพุทธเจ้า

วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระตถาคต เป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธต้องมีความสังเวชสลดใจ วิปโยคโศกเศร้าเป็นอย่างยิ่ง เพราะการสูญเสียแห่งพระพุทธสรีระ เมื่อวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่งนิยมเรียกกันว่า วันอัฏฐมี นั้นเวียนมาบรรจบแต่ละปี พุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะพระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาแห่งวัดนั้น ๆ ได้พร้อมกันประกอบพิธีบูชาขึ้น เป็นการเฉพาะภายในวัด  แต่จะปฏิบัติกันมาแต่เมื่อใด ไม่พบหลักฐาน ปัจจุบันนี้หลายวัดก็ยังถือปฏิบัติกันอยู่

มกุฏพันธนเจดีย์ กุสินารา
มกุฏพันธนเจดีย์ กุสินารา

ความสำคัญ โดยที่วันอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ถือเป็นวันที่ตรงกับวันที่ตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเป็นวันที่ชาวพุทธต้องวิปโยค และสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง และเป็นวันควรแสดงธรรมสังเวชและระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติภาวนามัยกุศล

สถานที่ถวายพระเพลิงพุทธเจ้า
สถานที่ถวายพระเพลิงพุทธเจ้า

พิธีอัฏฐมีบูชา  การประกอบพิธีอัฏฐมีบูชานั้น นิยมทำกันในตอนค่ำและปฏิบัติอย่างเดียวกันกับประกอบพิธีวิสาขบูชา ต่างแต่คำบูชาเท่านั้น

สถานที่ถวายพระเพลิงพุทธเจ้า
สถานที่ถวายพระเพลิงพุทธเจ้า

คำถวายดอกไม้ธูปเทียนในวันอัฏฐมีบูชา

ยะมัมหะ โข มะยัง, ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา, โย โน ภะคะวา สัตถา, ยัสสะ จะ มะยัง, ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ, อะโหสิ โข โส ภะคะวา, มัชฌิเมสุ ชะนะปะเทสุ, อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปันโน, ขัตติโย ชาติยา, โคตะโม โคตเตนะ, สักยะปุตโต สักยะกุลา ปัพพะชิโต, สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก, สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ, อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ, นิสสังสะยัง โข โส ภะคะวา, อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุคะโต โลกะวิทู, อนุตตะโร ปุริสทัมมะสาระถิ, สัตถา เทวะมะนุสสานัง, พุทโธ ภะคะวา สวากขาโต โข ปะนะ, เตนะ ภะคะวา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ. สุปะฏิปันโน โข ปะนัสสะ, ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ, อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย อัญชลีกะระณีโย. อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ. อะยัง โข ปะนะ ถูโป(ปฏิมา) ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ กโต (อุททิสสิ กตา) ยาวะเทวะ ทัสสะเนนะ, ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะริตวา, ปะสาทะสังเวคะปะฏิลาภายะ, มะยัง โข เอตะระหิ, อิมัง วิสาขะปุณณะมิโตปะรัง อัฏฐะมีกาลัง, ตัสสะ ภะคะวะโต สรีรัชฌาปะนะกาละสัมมะตัง ปัตวา, อิมัง ฐานัง สัมปัตตา, อิเม ทัณฑะทีปะธูปะ-, ปุปผาทิสักกาเร คะเหตวา, อัตตะโน กายัง สักการุปะธานัง กะริตวา, ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา, อิมัง ถูปัง(ปะฏิมาฆะรัง) ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ, ยะถาคะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา.

สาธุ โน ภันเต ภะคะวา, สุจิระปะรินิพพุโตปิ, ญาตัพเพหิ คุเณหิ, อะตีตารัมมะณะตายะ ปัญญายะมาโน, อิเม อัมเหหิ คะหิเต, สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ฑีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.

มกุฏพันธนเจดีย์ กุสินารา สถานที่ถวายพระเพลิงพุทธเจ้า
มกุฏพันธนเจดีย์ กุสินารา
สถานที่ถวายพระเพลิงพุทธเจ้า

สมัยนั้น มัลลปาโมกข์ 4 องค์ ตั้งใจจะยังไฟให้ติดจิตกาธานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็มิอาจติดไฟ พวกมัลละเมืองกุสินารา ได้ถามพระอนุรุทธะ ว่าแต่เหคุใด จึงยังไฟไม่ติด

อานนท์ดูก่อน  ความประสงค์พวกท่านอย่างหนึ่ง ของพวกเทวดาอย่างหนึ่ง  ความประสงค์พวกเทวดาท่านว่า ท่านพระมหากัสสปนี้พร้อมด้วภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ 500 รูป เดินทางไกลจากเมืองปาวามาสู่เมืองกุสินารา จิตกาธานของพระผู้มีพระภาคเจ้า จะยังไม่ลุกโพลงขึ้น จนกว่าพระมหากัสสปจะถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยมือตนเอง

มกุฏพันธนเจดีย์ กุสินารา สถานที่ถวายพระเพลิงพุทธเจ้า
มกุฏพันธนเจดีย์ กุสินารา สถานที่ถวายพระเพลิงพุทธเจ้า

พึงปฏิบัติในสรีระตถาคต พึงสร้างสถูปของตถาคต ไว้ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง  ชนเหล่าใดจะยกขึ้นซึ่งมาลัย ของหอม ดอกไม้ หรือจะยังจิตให้เลื่มใสในสถูป การกระทำเช่นนั้น จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ชนเหล่านั้นสิ้นกาลนานฯ

มกุฏพันธนเจดีย์ กุสินารา สถานที่ถวายพระเพลิงพุทธเจ้า
มกุฏพันธนเจดีย์ กุสินารา
สถานที่ถวายพระเพลิงพุทธเจ้า

ถึงที่สุดแห่งการเดินทางไกล บินข้ามมหาสมุทรอินเดีย มาไกล เดินทางมากราบ สถานที่ถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีย์ แห่งกรุงกุสินารา  ข้าพเจ้าขอนอบน้อมกราบด้วยกาย วาจา ใจ อนุโมทณาบุญ สาธุ สาธุ สาธุ รวมกันเทอญ…

แต่เมื่อมองถึงคำย้ำเตือนในหลักธรรมคำสอนแห่งพุทธ ที่เป็นศาสดานั้น ทรงย้ำเตือนเด่นชัด  พวกเธอจงอย่าขวนขวาย เพื่อบูชาสรีระตถาคตเลย จงสืบต่อพยายามในประโยชน์แห่งตน มีความเพียรอันมีประโยชน์ตน โดยข้าพเจ้าเข้าใจว่าพิจารณาหนึ่งเซ็นในหัวใจ และจิตไม่ควรส่งออก ให้พิจารณาตนเอง สาธุ สาธุ สาธุ

มกุฏพันธนเจดีย์ กุสินารา สถานที่ถวายพระเพลิงพุทธเจ้า
มกุฏพันธนเจดีย์ กุสินารา
สถานที่ถวายพระเพลิงพุทธเจ้า

ข้อมูลจำเพราะ.- วันอัฏฐมีบูชา ปีนี้ตรงกับวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๒ วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า.
วันอัฏฐมีบูชา ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ หรือวันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ หรือ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๗ ในปีอธิกมาส..หลังจากเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ ๘ วัน คือหลังจากวันวิสาขบูชาแล้ว ๘ วัน ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระที่ มกุฏพันธนเจดีย์ แห่งเมืองกุสินารา.
#ประวัติความเป็นมาของวันอัฏฐมีบูชา
คือ เมื่อวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ในพรรษาที่ ๔๕ พระพุทธเจ้าได้ทรงประชวรหนัก ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่พระองค์จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ได้ทรงปลงมายุสังขาร โดยพระพุทธเจ้าตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า…..
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลาย ย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตน และประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาท ให้ถึงพร้อมเถิด ความปรินิพพานแห่งตถาคต จักมีในไม่ช้า โดยล่วงไปอีกสามเดือนแต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน ฯ” (ทีฆนิกาย มหาวรรค. ๑๐/๑๐๐/๑๐๘)
.
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ๗ วัน มัลลกษัตริย์ แห่งนครกุสินารา พร้อมด้วยประชาชนและพระสงฆ์ อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีย์ กรุงกุสินารา เมื่อวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖

คำสอนสุดท้าย ก่อนพระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ได้ทรงปลงมายุสังขาร โดยพระพุทธเจ้าตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า….
.
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลาย ย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตน และประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาท ให้ถึงพร้อมเถิด ความปรินิพพานแห่งตถาคต จักมีในไม่ช้า โดยล่วงไปอีกสามเดือนแต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน ฯ” (ทีฆนิกาย มหาวรรค. ๑๐/๑๐๐/๑๐๘)

สิงห์ราหู  รายงาน ภาพ-ข่าว    #วันอัฏฐมีบูชา #สื่อสังคมข่าว #มกุฏพันธนเจดีย์  #กรุงกุสินารา #วัดบรมนิวาส #สิงห์ราหู  #พุทธราหู #พระเครื่อง #เครื่องราง  

Facebook Comments

อาชีพรับจ้าง , ช่างภาพ , นักข่าว , รับบันทึกภาพถ่ายภาพงานทั่วไป , แถลงข่าว , สารคดี , เป็นช่างภาพนักเขียนอิสระให้กับ นิตยสารหลายฉบับ , เว็บต่าง ๆ และหนังสือพิมพ์